Crossed extensor reflex

crossed extensor reflex หรือ crossed extensor response หรือ crossed extension reflex เป็นรีเฟล็กซ์ที่อวัยวะซีกตรงข้ามทำการเพื่อรักษาดุลของร่างกายเมื่อแขนขาอีกข้างหนึ่งยกออกจากสิ่งเร้าที่ทำให้เจ็บโดยเป็นส่วนของ withdrawal reflex[1]ในระหว่าง withdrawal reflex กล้ามเนื้อของแขนขาที่กำลังดึงออกจะหดตัวและกล้ามเนื้อเหยียดก็จะคลายตัว ส่วนในแขนขาอีกข้างหนึ่ง กล้ามเนื้อจะทำงานกลับกันโดยเป็นส่วนของ crossed extensor reflex[2]นอกจากจะย้ายน้ำหนักไปทางร่างกายอีกข้างหนึ่งแล้ว วิถีประสาทของรีเฟล็กซ์ยังสัมพันธ์กับการประสานการทำงานของขาเมื่อเดินโดยงอกล้ามเนื้อของขาด้านหนึ่ง ในขณะที่ยืดกล้ามเนื้อของขาอีกข้างหนึ่ง[1]รีเฟล็กซ์นี้จัดเป็นส่วนของ withdrawal reflex[3]ตัวอย่างก็คือเมื่อบุคคลเหยียบตะปู ขาที่เหยียบตะปูจะยกขึ้น ในขณะที่ขาอีกข้างหนึ่งจะวางลงรับน้ำหนักแทน[4]รีเฟล็กซ์นี้เกิดในร่างกายซีกตรงข้าม คือตรงข้ามกับซีกร่างกายที่เกิดสิ่งเร้าที่ทำให้เจ็บเพื่อให้เกิดรีเฟล็กซ์นี้ เส้นใยประสาทนำเข้าที่ส่งกระแสประสาทนำความรู้สึกจะมีสาขาจากซีกร่างกายที่เกิดสิ่งเร้าข้ามไปยังไขสันหลังในซีกตรงข้ามโดยจะไปยุติเป็นไซแนปส์กับเครือข่ายอินเตอร์นิวรอน ซึ่งบางส่วนจะกระตุ้นและบางส่วนจะยับยั้งกล้ามเนื้อของแขนขาซีกตรงข้าม[5]ในขาซีกเดียวกัน (คือที่เหยียบตะปู) กล้ามเนื้องอจะหดเกร็งและกล้ามเนื้อเหยียดจะคลายตัวเพื่อยกขาขึ้นจากพื้นในขาซีกตรงข้าม กล้ามเนื้องอจะคลายตัวและกล้ามเนื้อเหยียดจะหดเกร็งทำให้ขาแข็งตัวเพราะมันจะต้องรับน้ำหนักทั้งหมดของร่างกายอย่างฉับพลันในขณะเดียวกัน มีกระแสประสาทที่ส่งขึ้นไปยังไขสันหลังที่ทำให้กล้ามเนื้อตะโพกและท้องในซีกตรงข้ามหดเกร็งเพื่อเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายไปที่ขาซึ่งเหยียดออกโดยมากแล้ว การประสานการทำงานของกล้ามเนื้อและการทรงดุลของร่างกายจะอำนวยโดยสมองน้อยและเปลือกสมอง[5]